หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล หัวถนน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
อบต.หัวถนน
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
www.huatanoan.go.th
อบต.หัวถนน
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
www.huatanoan.go.th
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
ศูนย์รวมใจของตำบล
วัดโนนดุม
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
วัดอุเบกขาราม
กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ
ผลิตภัณฑ์เสริม สร้างรายได้
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน
Huatanoan Subdistrict Administrative Organization
1
2
3
4
5
 
วิสัยทัศน์ อบต.หัวถนน การคมนาคมสะดวก สนับสนุนการศึกษา ส่งเสริมเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนมีส่วนร่วม ชุมชนเข้มแข็ง สืบสานวัฒนธรรม
 
 
 

 
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ  
 

หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ

          ผู้อ่านหลายๆ  ท่านคงได้รับทราบข่าวตามสื่อต่าง ๆ   เกี่ยวกับภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเราอยู่ในขณะนี้ว่า น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ
ต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณลดน้อยลงกว่าทุก ๆ ปี  ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร  ในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้    เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้    การที่จะให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชต่าง ๆ    หยุดการปลูกพืชเพื่อเป็นการประหยัดน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดก็คงจะเป็นไปไม่ได้
กรมวิชาการเกษตรจึงมีข้อแนะนำในการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งนี้  เพื่อให้การปลูกพืชผลทางการเกษตรยังคงเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่
ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรในภาพรวม ที่ผ่านมาเนื่องจากข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการ
ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังประมาณ  9.50 ล้านไร่  แยกเป็น ในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่  และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่
ซึ่งหลายพื้นที่ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก  เพราะการปลูกข้าวหนึ่งรอบการผลิตต้องใช้น้ำปริมาณมาก  ทำให้น้ำไม่พอเพียงกับ
ความต้องการ   เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตา กระทรวงเกษตรฯ   จึงเร่งให้ความรู้ในการงดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2   และให้ปลูกพืชไร่-ผัก
ที่มีช่องทางการตลาดดีทดแทน



          นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล   อธิบดีกรมวิชาการเกษตร    กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบที่ 1 แล้ว  เกษตรกรควรพักดินและงดทำนา
ปรังรอบ 2  และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดีทดแทนข้าวนาปรัง   เช่น ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี
นอกจากเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ   และลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว   ยังช่วยตัดวงจรปัญหา
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย     เกษตรกรควรจัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่   โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-
นาปรัง  เช่น ปลูกถั่วเหลืองหลังนา   สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้นได้   ถ้าไถกลบต้นถั่วเหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจน
ที่ได้จากการสลายตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน / ไร่   คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กก. / ไร่        หรือไนโตรเจนในปุ๋ย
แอมโมเนียมไนเตรท(21-0-0) 34 กก./ไร่  เมื่อกลับไปปลูกข้าว  เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถจะช่วยลดต้นทุน
ค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศได้ปีละกว่า  4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมี
รายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว  คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12,032 ล้านบาท  นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะ
ได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และที่สำคัญยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปในตัวด้วย

          นายเทวา เมาลานนท์  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่  กรมวิชาการเกษตร  แนะนำว่า การเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึง
ปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่  เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต  หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
เกษตรกรไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำ
ประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยังต้องมองถึงช่องทางตลาดด้วยว่า  พืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการ
ลงทุน   นอกจากนี้เกษตรกรต้องมีวิธีการเขตกรรมและจัดการแปลงอย่างถูกต้องและเหมาะสม   เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตั้งแต่เตรียมดิน
โดยเฉพาะนาในเขตชลประทานที่มีสภาพค่อนข้างเป็นดินเหนียว  ต้องคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสม  ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดี
ที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพพื้นที่  ซึ่งปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้มีพันธุ์พืชรับรองเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร อาทิ ถั่วเหลือง
พันธุ์เชียงใหม่60  เชียงใหม่2  เชียงใหม่5  นครสวรรค์1  พันธุ์ขอนแก่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท72 กำแพงแสน1 กำแพงแสน2 และพันธุ์
ชัยนาท36 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น6  ขอนแก่น 5  พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์2 เป็นต้น



          เกษตรกรต้องมีการกำจัดวัชพืชในแปลงให้ทันเวลาและสม่ำเสมอ   พร้อมป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วย  สำหรับโรคและแมลงศัตรูพืช
สำคัญของถั่วเขียวและถั่วเหลือง  ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะลำต้น  แมลงหวี่ขาว และโรคราสนิม  ส่วนศัตรูพืของถั่วลิสง    ได้แก่  เสี้ยนดิน  อีกทั้ง
ยังต้องมีการให้ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม และตรงตามความต้องการของพืช  โดยใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน  ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
ค่อนข้างมาก    การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก  เกษตรกรควรคำนึงถึงความต้องการของพืช   ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืช
เหี่ยวเฉา เพื่อให้การปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวได้ผลผลิตดี ควรให้น้ำทุก 10-14 วัน  พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะระยะที่พืชออก
ดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก  ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้
น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง   หรือสังเกตต้นถั่วเมื่อใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน  การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ10-15 วัน/ครั้ง ซึ่งคาดว่า
น่าจะเป็นแนวทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้

          เมื่อเกษตรกร ทราบถึงรายละเอียดในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยในฤดูแล้งเช่นนี้แล้ว   กรมวิชาการเกษตร หวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำ
ให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชที่มีความเหมาะสมในช่วงฤดูแล้งนี้และยังเป็นการช่วยในเรื่องของปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อกลับไปปลูกข้าว
ในฤดูการที่กำลังจะมาถึง และยังเป็นการช่วยให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประการสำคัญยังช่วยในการป้องกันโรคแมลงที่จะเกิดขึ้นกับการ
เพาะปลูกพืชได้อีกด้วย

 

ข่าว ณ. วันที่ 2 ธ.ค. 2559 เวลา 15.54 น. โดย คุณ สุมาลี กสินรัมย์

ผู้เข้าชม 316 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 
 
 
สายตรงนายก

093-196-6574
ร้องทุกข์ ร้องเรียน โทร.
 
  นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10