หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล หัวถนน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
อบต.หัวถนน
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
www.huatanoan.go.th
อบต.หัวถนน
อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร
www.huatanoan.go.th
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
ศูนย์รวมใจของตำบล
วัดโนนดุม
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
วัดอุเบกขาราม
กิจกรรมโรงเรียนวิถีพุทธ
ผลิตภัณฑ์เสริม สร้างรายได้
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวถนน
Huatanoan Subdistrict Administrative Organization
1
2
3
4
5
 
วิสัยทัศน์ อบต.หัวถนน การคมนาคมสะดวก สนับสนุนการศึกษา ส่งเสริมเศรษฐกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนมีส่วนร่วม ชุมชนเข้มแข็ง สืบสานวัฒนธรรม
 
 
 
การปลูกพืชทดแทนหลังฤดูทำนา
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายที่จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนด้วยการ รณรงค์อย่างจริงจังในการทำโครงการจัดระบบการปลูกข้าว เพื่อให้มีการจัดระบบปลูกข้าวปีละไม่เกิน 2 ครั้ง การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นให้เกษตรกรในแต่ละพื้นที่โครงการชลประทานร่วมกันตัดสินใจเลือก ช่วงเวลาปลูกข้าวให้เหมาะสม ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ ตลอดจนปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากถ้ามีการกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ก่อนน้ำท่วมจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาลุ่มต่ำในแต่ละโครงการชลประทาน ให้เป็นพื้นที่รองรับน้ำหากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างเช่นในปีที่ผ่านมาได้

นอกจากนี้จะมีการส่งเสริมการปลูกพืชหลังนาหรือพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน และสร้างรายได้เสริมในช่วงที่เกษตรกรมีการพักนา โดยภาครัฐสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชหลังนาและพืชปุ๋ยสดพร้อมทั้งอบรมความรู้และแนะนำตลาดให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกพืชหลังนา

อย่างไรก็ตามบางพื้นที่เช่นกำแพงเพชร มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 1.6 ล้านไร่ เกษตรกร 48,150 ครัวเรือน เกษตรกรโดยเฉพาะในเขตชลประทานมีการทำนาปีละ 3 ครั้ง หรือ 5 ครั้งใน 2 ปี จึงประสบปัญหาทั้งดินเสื่อมโทรม การระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชอย่างรุนแรง และในบางปีเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 4,500-5,500 บาท/ไร่ ส่งผลให้มีรายได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

จังหวัดกำแพงเพชรถือเป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดระบบปลูกข้าว เนื่องจากขณะนี้มีเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมโครงการจัดระบบปลูกข้าวกับ กระทรวงเกษตรฯ และพร้อมที่จะปลูกถั่วเขียวเป็นพืชหลังนา จำนวนกว่า 3 แสน ไร่ และมีแนวโน้มที่จะเข้าร่วมโครงการปลูกพืชหลังนาภายใต้โครงการระบบปลูกข้าวมากขึ้น

ต้นถั่วงอกและเมล็ด













อย่างไรก็ตามพืชหลังนานอกจากพืชในตระ * * * ลถั่วแล้วไม่ว่าจะเป็นถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม  ถั่วลิสง  แล้ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน สามารถปลูกได้เช่นกันซึ่งดูตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่ตลอดจนสามารถปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ถั่วมะแฮะ โสนอัฟริกันและปอเทืองและปลูกข้าวพร้อมกันในพื้นที่เดียวกันได้ด้วย  

ต้นถั่วเหลือง





ต้นถั่วลิสง





ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์



ข้าวโพดหวาน



ข้าวโพดฝักอ่อน



การปลูกข้าวพร้อมพืชในพื้นที่เดียวกัน





ต้นแบบเครื่องแยกเมล็ดพันธุ์





แต่จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  การปลูกพืชหลังนาข้าวในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปี 54  พบว่าถั่วเขียว และถั่วลิสง เป็นพืชที่ควรได้รับส่งเสริมให้ปลูกทดแทนการปลูกข้าวรอบ 2 มากที่สุด เนื่องจากให้ผลตอบแทนสุทธิ และอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงกว่าข้าวรอบ 2 แต่ติ้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้เหมาะสมกับศักยภาพในแต่ละแหล่งปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และมีมาตรการด้านตลาดรองรับ กรณีเกิดปัญหาราคาตกต่ำ อย่างไรก็ตามการปลูกถั่วลิสงมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าถั่วเขียว

มีตัวอย่างการปลูกพืชปุ๋ยสดเช่นปอเทืองในพื้นที่นาของจว.นครราชสีมา ที่ปลูกเพื่อเป็นพืชบำรุงดินก่อนฤดูการทำนา  ต่อมาได้ปลูกหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม ผลปรากฏว่าการเจริญเติบโตดีและสามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่ายได้ด้วย

ปอเทือง





การปลูกปอเทืองเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกพืชหลัก แต่การปลูกปอเทืองช่วงเดือน ตุลาคม ถึงเดือน ธันวาคม เหมาะสำหรับเก็บเมล็ดพันธุ์เพราะจะได้เมล็ดที่มีคุณภาพ หลังจากเก็บเกี่ยวในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม  ไถกลบต้นตอ  ในการปลูก ปีที่ 1 – 2 การเจริญเติบโตไม่ดีนัก หลังจาก 5 ปี ปอเทืองจะเจริญสมบูรณ์ และข้าวที่ปลูกไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเลย ดังนั้นนอกจากจะเป็นพืชบำรุงดินแล้วยังมีรายได้เสริม 2,000 – 3,000 บาท/ไร่   (ขอบคุณข้อมูลจากกรมการข้าว สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร )      

เขียนโดย   คุณ งานบริหาร อบต.หัวถนน
วันที่ 2 ธ.ค. 2559 เวลา 15.59 น. [ IP : 1.179.198.125 ]
     
: รายละเอียด  
 
: แนบไฟล์   เลือกไฟล์ 
 
: ชื่อผู้เขียน  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สายตรงนายก

093-196-6574
ร้องทุกข์ ร้องเรียน โทร.
 
  นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10